จำหน่ายเครื่องวัดอัตราการไหล (Flow meter) ทุกหลักการ
Flow meter ยอดนิยมที่ใช้วัดด้วยหลักการ Ultrasonic Elegtromagnetic, Turbine และหลักการประเภทอื่นๆ พร้อมหน้าจอแสดงอัตราการไหล และค่าผลรวมแบบเรียลไทม์ มีหน่วยให้เลือกใช้ ให้เหมาะกับงานวัดในระดับอุตสาหกรรม
Flow meter มีกี่ประเภท มีหลักการทำงานอย่างไร
ULTRASONIC FLOW METER
โดยทั่วไปแล้ว Flow meter ประเภท Ultrasonic มีหลักการทำงานอยู่ 2หลักการคือ Transit time และ Doppler
Transit-time ultrasonic flow meter : ใช้วัดคลื่นอัลตราโซนิคที่เดินทางไปมาสองทิศทาง คือทิศทางเดียวกันและตรงกันข้าม เพื่อวัดความเหลวของของเหลว และนำความเร็วของของเหลวนั้นๆ มาคำนวณเป็นอัตราการไหล
Doppler ultrasonic flow meter : ใช้วัดคลื่นอัลตราโซนิคที่สะท้อนกลับจากอนุภาคที่อยู่ในของเหลวเช่นสารละลาย ตะกอน หรือฟองอากาศแล้ววัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของคลื่น เพื่อคำนวณอัตราการไหล
TTFM6.1
Transit-time flow meter
PTFM6.1
Portable transit-time flow meter
DFM 6.1
Doppler ultrasonic meter
ดูทั้งหมด
MAGNETIC FLOW METER
ใช้หลักการเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นจากสนามแม่เหล็ก โดยมีขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วติดตั้ง 2 จุด เมื่อของเหลวไหลผ่านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าทั้ง 2 จุด และนำการเปลี่ยนแปลงมาคำนวณเป็นอัตราการไหล
MS501
Flange sensor for electromagnetic flow meter MS501 ISOMAG
MS2420
Sanitary sensor for electromagnetic flow meter MS2420 ISOMAG
MV110
Converter with display for magnetic flow meter MV 110 ISOMAG
ดูทั้งหมด
TURBINE FLOW METER
อาศัยหลักการทำงานโดยการหมุนของใบพัด เมื่อมีของเหลวไหลผ่าน จะหมุนด้วยความเร็วของอัตราการการของของเหลวนั้น โดยอัตราการเร็วอ่านได้จากความเร็วและความถี่ในการหมุนของใบพัดที่สัมพันธ์กัน
A1 Series
GPI turbine flow meter
G2 stainless steel
GPI turbine flow meter
01 series nylon
GPI turbine flow meter
ดูทั้งหมด
CORIOLIS FLOW METER
วัดอัตราการไหลของมวลของของไหลโดยใช้ Coriolis effect ของไหลจะไหลผ่านท่อที่แกว่งด้วยความถี่ที่ทราบ และวัดแรงโคริโอลิสที่เป็นผลลัพธ์เพื่อกำหนดอัตราการไหลของมวล
optimass 6400
Coriolis flow meter
optimass 1010
Coriolis flow meter
optimass 2400
Coriolis flow meter
ดูทั้งหมด
ORIFICE PLATE FLOW METER
ใช้หลักการสร้างความแตกต่างของแรงดัน (Differential Pressure) บนแผ่นเจาะรู (Orifice Plate) ที่อยู่ภายในท่อมีความแม่นยำสูงในช่วงอัตราการไหลที่กว้าง
Series ISB/1
Orifice plate
Series ISB/1 EP
Orifice plate
Series ISB/2
Orifice plate
ดูทั้งหมด
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
ATF 80
ATF 2000
Series ISB/1
Series ISB/1 EP
Series ISB/2
STEEMCO
OM SERIES FLOW METER WITH DISPLAY AND OUTPUTS | 1/8" - 3/8"
OM SERIES FLOW METER WITH DISPLAY | 1/2" - 2"
OM SERIES FLOW METER PULSE OUT | 1/2" - 2"
RT40 FLOW RATE TOTALISER
A1 - SERIES
G-2 stainless steel
01 series nylon
G2S - 316SS
MS501
MS2420
MV110
MS3780
OPTIMASS 6400
OPTIMASS 1010
OPTIMASS 2400
OPTISWIRL 5080
TTFM 6.1
OFM 6.1
PTFM 6.1
dB3 with Double Sun Shields
OVER GEAR FLOW METERS
IF500 insertion meters
วิธีการเลือกเครื่องวัดอัตราการไหลให้ตรงกับการใช้งาน
การเลือกเครื่องวัดอัตราการไหล ให้เหมาะสมกับงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและตอบโจทย์การใช้งาน ดังนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1.ประเภทของของไหล (Fluid Type)
- ของไหลที่วัดได้ เช่นของเหลวทั่วไป ก๊าซ หรือ ไอน้ำ รวมถึงความสะอาด ความหนืด ความหนาแน่น และคุณสมบัติทางเคมี
- สภาวะของของไหล ของไหลบางชนิดมีความหนืดสูงหรือมีอนุภาคเจือปน อาจต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทาง เช่น เครื่องวัดอัตราการไหลแบบ Magnetic flow meter สำหรับของเหลวที่นำไฟฟ้า หรือ Turbine flow สำหรับของเหลวหนืดต่ำ
2.ขอบเขตของการวัดและความแม่นยำ (Measurement Range and Accuracy)
- ช่วงการวัด (Flow Range) : การเลือกเครื่องวัดต้องคำนึงถึงช่วงการไหลที่เครื่องมือสามารถวัดได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้งานในระบบที่มีอัตราการไหลต่ำ การเลือกเครื่องมือวัดแบบ Positive Displacement Flow meter จะให้ความแม่นยำสูงกว่าในช่วงการไหลต่ำ
- ความแม่นยำ (Accuracy) : ความแม่นยำที่ต้องการขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น สำหรับการวัดอัตราการไหลในระบบบำบัดน้ำเสีย ความแม่นยำไม่จำเป็นต้องสูงเท่าในการผลิตยา ที่จ้องการความแม่นยำสูงมาก (±0.1% ของค่าที่วัดได้)
3.ความดันและอุณหภูมิ (Pressure and Temperature)
- ความดันสูงสุด (Maximum Pressure Rating) เครื่องวัดบางประเภทอาจไม่สามารถทนต่อความดันสูงได้ เช่น เครื่องวัดแบบ Coriolis มักมีข้อจำกัดด้านความดันสูง ควรเลือกเครื่องวัดที่มีความดันใช้งานได้สูงกว่าแรงดันที่เกิดขึ้นจริงในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือจะไม่เสียหาย
- อุณหภูมิการใช้งาน (Operating Temperautre Range) ในระบบที่มีอุณหภมูิสูง เช่น ระบบไอน้ำ ควรเลือกเครื่องวัดที่ออกแบบเฉพาะสำหรับอุณหภูมิสูง เช่น เครื่องวัดแบบ Vortex Flow Meter ที่เหมาะกับการใช้งานในสภาวะ อุณหภูมิสูงและความดันสูง
4.ขนาดท่อและการติดตั้ง (Pipe Size and Installation)
- ขนาดท่อ (Pipe Size) ต้องเลือกเครื่องวัดที่มีขนาดตรงกับท่อในระบบหรือมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสม เครื่องวัดแบบ Ultrasonic สามารถใช้ได้กับท่อขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องติดตั้งในตัวท่อ ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนได้
- ต้นทุนเบื้องต้น(Initial Cost) : การลงทุนในเครื่องมือวัดที่มีต้นทุนสูงแต่มีความแม่นยำสูงและอายุการใช้งานยาวนานอาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เมื่อเทียกับการลงทุนในเครื่องมือวัดที่มีราคาถูก
- บำรุงรักษา (Maintenance Cost) : เครื่องวัดบางประเภท เช่น Turbine Flow อาจต้องการการบำรุงรักษาบ่อยครั้ง เช่นการทำความสะอาดใบพัด ในขณะที่เครื่องวัดแบบ Corisolis หรือ Magnetic Flow มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำกว่าเพราะไม่มีส่วนที่เคลื่อนที่
6.การบำรุงรักษาและอายุการใช้งาน (Maintenance and Lifespan)
- ความทนทานต่อสภาวะการใช้งาน (Durability) : เลือกเครื่องวัดที่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เครื่องมือจะต้องทำงาน เช่น ต่อการสั่นสะเทือน การกัดกร่อน หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
- การตรวจสอบและการรักษา (Maintenance Requirements) : พิจารณาว่าเครื่อวัด สามารถตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาได้ง่ายเพียงใด เช่น การเข้าถึงเพื่อทำความสะอาดหรือเปลี่ยนอะไหล่
อ่านบทความและเกล็ดสาระเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Flow Meter
- ข้อดี/ข้อเสียของ Flow Meter แต่ละประเภท
- แนะนำหนังสือที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับ Flow Meter อย่างละเอียด